‘มาม่า’ มุ่งสู่เป้ายอดขาย 30,000 ล. ฟันธงตลาดบะหมี่ฯ ปี 66 มีแรงส่งโต

‘มาม่า’ มุ่งสู่เป้ายอดขาย 30,000 ล

แม้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะตบเท้าขึ้นราคาในปี 2565 แต่สถานการณ์ต้นทุนผลิตสูงยังวางใจไม่ได้ เพราะมีสารพัดปัจจัยเตรียมก่อหวอดผลกระทบใหม่ๆ “มาม่า” มองปี 66 ตลาดบะหมี่ฯ ยังโตได้ 5% แต่การเคลื่อนธุรกิจต้องเตรียมพร้อม รับความเปลี่ยนแปลงที่เร็วและแรงมากแน่นอน

‘มาม่า’ มุ่งสู่เป้ายอดขาย 30,000 ล

ข่าว ตามแผนฉลองครบรอบ 50 ปี “มาม่า” มีเป้าหมายจะสร้างยอดขายแตะ 30,000 ล้านบาท ทว่า เหตุการณ์ไม่คาดคิดมาเยือน วิกฤติโควิดลามโลก กลายเป็นแตะเบรกการเติบโต ไม่เพียงเบอร์ 1 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่หลายธุรกิจเผชิญโจทย์ท้าทายการอยู่รอดอย่างยิ่ง ปี 2566 “มาม่า” กลับมาองตัวเลขการเติบโตเดิมอีกครั้ง แต่มองบริบทธุรกิจต้องรับมือสารพัดตัวแปรมากขึ้น พันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)หรือ TFMAMA ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” ฉายภาพปี 2566 ธุรกิจยังต้องรับมือความเปราะบางหลายด้าน เริ่มจาก “ต้นทุน” การผลิตบะหมี่ฯ ที่ยังมีสัญญาณราคาน้ำมันปาล์มขยับ แป้งสาลีต้องเกาะติด เพราะปี 2566 บริษัทรับมือราคาแป้งสาลีผันผวน พุ่งรุนแรง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงน้ำมันปาล์ม และวัตถุดิบอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ ฯ ขยับขึ้นถ้วนหน้า การรับแรงกระแทกต้นทุนหนักหนาในรอบ 50 ปี ทำให้บริษัทรวมถึงบิ๊กแบรนด์บะหมี่ 5 รายในตลาด ขอรัฐปรับขึ้นราคาจากซองละ 6 บาท เป็น 7 บาท เพื่อบรรเทาผลกระทบ ทว่า หากต้นทุนพุ่งต่อเนื่อง ข่าวธุรกิจ แล้วราคาที่ปรับไม่สามารถต้านทานไหว และการเป็น “สินค้าควบคุมราคา” คำถามที่ตามมา จะทำอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อโดยไม่ได้รับผลกระทบ สถานการณ์ดังกล่าว จึงกลายเป็นหนึ่งในโจทย์การวางแผนกลยุทธ์การค้าและลงทุนของปี 2566 “วัตถุดิบในการผลิตบะหมี่ฯ ยังมีความเสี่ยง นอกจากตัวแปรด้านสงคราม ยังมีความมั่นคงด้านอาหารด้วย ขณะที่ตลาดบะหมี่ฯในไทยถือเป็นสินค้าควบคุม การขึ้นราคาตามจริงสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มทำได้ยาก เพราะมีปัจจัยอื่นต้องพิจารณา”