ริชสปอร์ต กางแผนบุกหนัก “คอนเวิร์ส-ฮาวายานาส” หัวหอกโกยยอด

“ริช สปอร์ต” รุกใหญ่ตั้งแต่ไก่โห่ เดินหน้าผุด 20 สาขาแบรนด์ดังทั้ง CONVERSE, Havaianas ฯลฯ พร้อมโหมอีเวนต์ออนกราวนด์ในรอบกว่า 3 ปี
ธุรกิจ หวังปลุกลอยัลตี้ชิงเม็ดเงินช่วงตลาดฟื้น หลังสัญญาณบวกชัดทั้งจำนวนลูกค้า-ยอดต่อบิลพุ่ง สะท้อนลูกค้าพร้อมจับจ่าย มั่นใจยอดขายปีนี้เติบโต 15-20% นางสาวพาพิชญ์ วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน) หรือ RSP ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่น อาทิ CONVERSE, Havaianas, BARREL และ COLE HAAN ในไทยและกัมพูชา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงแนวทางของตลาดแฟชั่นแคชวลและทิศทางของบริษัทจากนี้ไปว่า ขณะนี้ภาพรวมธุรกิจแฟชั่นกลับมาคึกคักและเติบโตต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 ของปี 2565 มาจนถึงปัจจุบัน โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมาตลาดคึกคักทั้งปริมาณลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวจากหลากหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ที่มาเดินจับจ่ายในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ และยอดการใช้จ่ายต่อบิลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมไปถึงความเคลื่อนไหวของแบรนด์ต่าง ๆ ที่กลับมาทำกิจกรรมทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นจัดอีเวนต์ กิจกรรมเอาต์ดอร์กันมากขึ้น เช่นเดียวกับการจัดแคมเปญโปรโมชั่นลดราคาเพื่อกระตุ้นการขายและชิงเม็ดเงิน ทั้งนี้ สะท้อนจากจำนวนลูกค้าในร้านทั้ง 216 สาขาของบริษัทเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยแม้จำนวนจะยังไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 แต่ด้านเม็ดเงินยอดขายกลับมาใกล้กับก่อนการระบาดของโควิด-19 แล้ว พาพิชญ์ วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ ทั้งนี้
เชื่อว่าเป็นผลจากเทรนด์การเปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
รวมถึงแคมเปญช้อปช่วยชาติที่กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้ามูลค่าสูงได้ง่ายขึ้น ข่าวธุรกิจ ขณะที่การแต่งตัวลำลองที่ยังคงเป็นกระแสหลัก และคาดว่าจะดำเนินต่อไป แม้จะเป็นช่วงหลังการระบาดของโควิด ผู้คนกลับมาใช้ชีวิต-ทำงานตามปกติแล้ว ทำให้มีดีมานด์รองเท้าสนีกเกอร์ต่อเนื่อง รวมถึงช่วยให้ฐานลูกค้าขยายกว้างขึ้นครอบคลุมตั้งแต่วัยรุ่นอายุ 15 ไปจนถึงวัยทำงานอายุ 30 กว่า สอดคล้องกับผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2565 ที่บริษัทแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 175.3 ล้านบาท หรือเพิ่ม 137% เป็น 303.3 ล้านบาท เช่นเดียวกับกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 108.7 ล้านบาท หรือ 198.4% เป็น 163.5 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้การใส่สนีกเกอร์จะไม่เปลี่ยน แต่หลังจากการระบาดของโควิด-19 พฤติกรรมการช็อปปิ้งของผู้บริโภคทั้งไทยและต่างชาติบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป โดยจุดที่เห็นได้ชัดคือ ความต้องการซื้อสินค้าที่ตนอยากได้-ถูกใจแบบทันทีที่พบ และการใช้จ่ายด้วยเงินสดลดลง เปลี่ยนไปเป็นแคชเลสอย่างการโอนหรือบัตรเครดิตมากขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้การเลือกสินค้ายังให้น้ำหนักกับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์-โพซิชั่นสะท้อนตัวตน หรือความรัก-คุ้นเคยกับแบรนด์ ขณะที่ราคาลดความสำคัญลงไปเป็นปัจจัยรอง เช่นเดียวกับความท้าทายในตลาดที่ปัจจุบันต้นทุนค่าขนส่งจะเริ่มคลี่คลาย แต่ยังต้องจับตาปัจจัยค่าเงินบาทและเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลกับต้นทุนสินค้าเช่นเดียวกัน
แนะนำข่าวธุรกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ‘มาม่า’ มุ่งสู่เป้ายอดขาย 30,000 ล. ฟันธงตลาดบะหมี่ฯ ปี 66 มีแรงส่งโต