“เร่ง”เขย่าโครงสร้าง THCOM ปูทางเข้าสู่ธุรกิจ “ดาวเทียม” รอบใหม่

“เร่ง”เขย่าโครงสร้าง THCOM ปูทางเข้าสู่ธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลง “พลิก” หลังมือเป็นหน้ามือ และอาจจะกลายเป็นหุ้นม้ามืดคว้าผลตอบแทนจากราคาหุ้น “พุ่งสุดโต่งหรือลงสุดขีด” บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM กลายเป็นบริษัทย่อย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF สมบูรณ์ปี 65

ข่าว หลังจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่จากกลุ่ม “เทมาเส็ก” ตกอยู่ในมือของ GULF ผ่านการถือหุ้น บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH สัดส่วน 41.15 % ทำให้ THCOM กลายเป็นลูกครึ่งไทย จากเดิมคือต่างชาติ จน GULF เสนอซื้อหุ้นทั้งหมดที่ INTUCH ถือทั้งหมดใน THCOM ทำให้เป็นบริษัทไทยเต็ม 100 % จากมติที่ประชุมบอร์ด INTUCH อนุมัติ “ขายหุ้น” ที่ถือทั้งหมดใน THCOM รวม 450 ล้านหุ้น คิดเป็น 41.13 % ให้บริษัทย่อย ของ GULF ในราคาหุ้นละ 9.92 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 4,472.64 ล้านบาท รายงานดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จวันที่ 30 ธ.ค. 2565 ส่งผลทำให้ THCOM “ปลดล็อก” การเป็นบริษัทต่างด้าวกลายเป็นไทยแท้ 100 % ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ INTUCH เร่งให้ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้นแบบทันทีด้วยการประกาศจ่ายเงินปันผลพิเศษ วันที่ 28 ธ.ค. 2565 ที่อัตราหุ้นละ 1.40 บาท มีการขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 10 ม.ค. 2566 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 27 ม.ค. 2566 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่า “รวดเร็ว ” และ “รวบรัด” เพื่อดำเนินการให้ทันกับจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ (รอบใหม่) ของ THCOM เลยก็ว่าได้ ที่ผ่านมา THCOM เผชิญมรสุมลูกใหญ่ช่วงปี 2563-2564 จากการดำเนินธุรกิจที่เป็นสัมปทานดาวเทียมเพียงแค่รายเดียวทั้ง 8 ดวง หลังนโยบายภาครัฐเปลี่ยนแปลงไม่มีการต่ออายุสัญญาสัมปทานและการฟ้องร้องจากภาครัฐในการคืนดาวเทียม ปัญหาหนักสุดคือดาวเทียมไทยคม 5 ที่มีสัญญาหมดอายุปี 2564 แต่อายุการใช้งานหมดลงในกลางปี 2563 ที่ ซึ่งภาครัฐไม่ต่ออายุสัญญาให้จึงทำให้ดาวเทียมดวงนี้มีปัญหากรณีต้องคืนดาวเทียมกลับไปให้กระทรวงดีอีเอส เป็นเงิน 7,790 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้้ย 7.5 % ตั้งแต่ 30 ต.ค.2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถัดมาดาวเทียมไทยคม 6 แม้ไม่มีประเด็นดังกล่าวแต่ใกล้หมดอายุปี 2564 เช่นกัน ส่วนไทยคม7-8เป็นดาวเทียมที่มีอายุหมดสัญญาก.ย.2564 เช่นกัน แต่มีข้อพิพาษฟ้องร้องในชั้นอนุญาโตตุลาการว่าสัญญาดังกล่าวกระทรวงดีอีเอสระบุเป็นเงื่อนไขภายใต้สัปทาน สวนทางกับบริษัทมองว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทกับ กสทช. จนต้องยื่นคำร้องขอและศาลได้พิจารณาและมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของ กสทช.ออกไปก่อน

“เร่ง”เขย่าโครงสร้าง THCOM ปูทางเข้าสู่ธุรกิจ

แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวทำให้ธุรกิจชะงักเกิดความไม่แน่นอนด้านรายได้เพราะดาวเทียมดวงใหม่ไม่เกิด ส่วนที่มีอยู่ทยอยหมดอายุและติดคดีความ จนเป็นที่มาทำให้ผลประกอบการของ THCOM ไม่มีการเติบโตจากรายได้ที่หดตัวลดลงต่อเนื่อง

จากปี 2561 ที่ 6,218 ล้านบาท มีกำไร 229 ล้านบาท ,ปี 2562 รายได้ 5,000 ล้านบาท ขาดทุน 2,249 ล้านบาท ,ปี 2563 รายได้ 4638 ล้านบาท กำไร 513 ล้านบาท , ปี 2564 รายได้ 3,505 ล้านบาท กำไร 143 ล้านบาท และในงวด 9 เดือน รายได้ 2,322 ล้านบาท กำไร 480 ล้านบาท ช่วงดังกล่าว THCOM ยังไม่สามารถคาดหวังพลิกสถานการณ์ได้เพราะเงื่อนไขที่จะ “ปลดล็อก” วัฎจักรธุรกิจใหม่ คือ การเปิดประมูลวงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด ทำให้ THCOM เข้าสู่ธุรกิจดาวเทียมวงโครจต่ำ (Low Earth Orbit หรือ LEO) และโดรน เพื่อให้บริการในประเทศไทย ข่าวธุรกิจ มีภายใต้บริษัทย่อย “ทีซี สเปซ คอนเน็ต ” เข้าร่วมการประมูล สุดท้ายเจอโรคเลื่อน 2 รอบ จาก จากวันที่ 24 ก.ค. 2564 เป็น 28 ส.ค. 2564 และถูกยกเลิกในท้ายที่สุดหลังไม่มีรายใดเข้าร่วมประมูลด้วย ท้ายปี 2565 กสทช. จัดประมูลอีกครั้งด้วยยื่นเอกสารซึ่งแน่นอนว่าย่อมมี THCOM เข้าร่วมด้วยการยื่นเป็นรายแรกภายใต้ “สเปซ เทค อินโนเวชั่น “ นอกจากนี้ยังมีรายอื่นที่เข้าร่วมยื่นเอกสารประมูล “ พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส” และ “โทรคมนาคมแห่งชาติ” หรือ NT และยังมีคู่แข่งที่สูสี “แอสเซนด์ แคปปิตอล” เป็นบริษัทย่อยของกลุ่ม “ทรู “ หากไล่จากไทมไลน์กสทช. จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติ โดยจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในวันที่ 9 ม.ค. 2566 หากมีผู้ยื่นที่ผ่านคุณสมบัติมากกว่า 1 ราย จะดำเนินการจัดให้มีการประมูลในวันที่ 15 ม.ค. 2566 แต่หากตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว มีผู้ผ่านคุณสมบัติเพียงรายเดียวจะขยายวันรับเอกสารออกไปอีก 15 วันนับตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566